ยินดีต้อนรับเข้าสู่เว็บไซต์เทศบาลตำบลป่าป้อง                               วิสัยทัศน์ "เป็นตำบลน่าอยู่อย่างยั่งยืน โดยยึดหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง และหลักธรรมาภิบาล"                               เทศบาลตำบลป่าป้อง โทรศัพท์ 053-484-843, 093-187-9111 โทรสาร 053-484843
 ข้อมูลเทศบาล

นายสมบูรณ์ ริญญา

นายกเทศมนตรีตำบลป่าป้อง
โทรศัพท์: 08 9851 1575

msgQ&A/สายตรงนายก

นางกัลยา  มีรักษ์ - ปลัดเทศบาลตำบลป่าป้อง             โทรศัพท์ : 08 6916 7493

นางกัลยา มีรักษ์

ปลัดเทศบาลตำบลป่าป้อง โทรศัพท์ : 08 6916 7493


hornข่าวประชาสัมพันธ์

10 วิธีง่ายๆ ในการป้องกันการเกิดอัคคีภัย

  • 8 มีนาคม 2565
  • อ่าน 44 ครั้ง

1. เก็บรักษาสิ่งของที่อาจเป็นเชื้อเพลิงทำให้เกิดอัคคีภัยขึ้นได้ เช่น เสื้อผ้าเก่า หนังสือพิมพ์ นิตยสาร รวมถึงเครื่องใช้ภายในบ้านที่ติดไฟได้ง่าย อาทิ สเปรย์ น้ำมัน ทินเนอร์ น้ำยาทำความสะอาดบ้าน ครีมโกนหนวด เป็นต้น โดยวางไว้ให้ห่างจากที่ ๆ เกิดความร้อนได้ง่ายและเก็บให้มิดชิดจะดีที่สุด ป้องกันไม่ให้เกิดเชื้อไฟแม้แต่นิดเดียว

2. หมั่นตรวจตราเครื่องใช้ไฟฟ้าต่าง ๆ รวมไปถึงสายไฟและสวิทซ์ไฟให้อยู่ในสภาพสมบูรณ์ตลอด ไม่ขาด ไม่เปื่อยหรือหลุดลุ่ยเลยแม้แต่นิดเดียว เพราะความผิดพลาดเล็ก ๆ อาจทำให้เกิดอุบัติเหตุครั้งใหญ่ได้ โดยเฉพาะประกายไฟที่อาจเกิดขึ้นเวลาเปิดใช้งาน

 3. ปิดสวิทช์ และดึงปลั๊กเครื่องใช้ไฟฟ้าออกทุกครั้งหลังใช้งาน คือเตือนตัวเองพร้อมหันหลังกลับไปดูเสมอว่าเราปิดดีแล้วจริงไหม เป็นการรีเช็คความเรียบร้อยหลังใช้งานทุกครั้ง แถมยังช่วยประหยัดไฟอีกค่ะ

4. ปิดแก๊สหุงต้มเมื่อเลิกใช้งาน เพราะหนึ่งในสาเหตุสำคัญทำให้เกิดไฟไหม้ก็มาจากสาเหตุนี้ล่ะ โดยเฉพาะความประมาทจากการวางผ้าหรือวัตถุติดไฟไว้ข้างเตาด้วยแล้ว ยิ่งอันตรายคูณสอง จึงต้องวางเตาห่างจากของติดไฟง่าย ไม่โดนแสงแดด ทำความสะอาดเตาและสิ่งของอยู่บนเตาเสมอ เศษอาหารก็ใช่เก็บไปทิ้งซะ รวมถึงในไมโครเวฟด้วย

5. ไม่จุดธูปเทียนบูชาพระ หรือจุดบุหรี่ทิ้งไว้โดยไม่มีคนอยู่ในบ้าน อันนี้รวมถึงยากันยุง ไม่ขีดไฟ ไฟแช็กก็ต้องวางไว้ให้ดี ให้ห่างจากความร้อนและที่เกิดประกายไฟง่ายด้วยนะคะ ก่อนออกจากบ้านเตือนตัวเองตลอดให้หันไปเช็คความเรียบร้อยอีกครั้ง

6. เครื่องใช้ไฟฟ้าบางชนิดอาจทำให้เกิดไฟไหม้ได้ เช่น โทรทัศน์ ตู้เย็น ควรวางเว้นระยะห่างจากผนังเพื่อระบายความร้อน ไม่ควรวางชิดผนังจนเกินไป

 7. ควรติดตั้งเครื่องตัดไฟเพื่อแก้ไขปัญหาไฟฟ้าลัดวงจร แล้วหมั่นตรวจสอบอยู่เสมอว่าใช้งานได้ตามปกติหรือเปล่า ถ้าไม่ต้องรีบแก้ไขทันที

8. ติดตั้งเครื่องตรวจจับควันไฟภายในบ้าน คล้ายกับข้อ 7 คือต้องหมั่นตรวจสอบว่ายังใช้งานได้ปกติอยู่ไหม แบตเตอรี่อ่อนหรือเปล่า ถ้าใช่ให้รีบเปลี่ยนทันที ป้องกันบ้านจากไฟไหม้ได้ดีคูณสองเลยค่ะ

 9. มีเบอร์สถานีดับเพลิงใกล้บ้าน หรือเบอร์แจ้งเหตุฉุกเฉิน 199 ติดอยู่ในบ้าน ใกล้โทรศัพท์ หรือเมมไว้ในเครื่องตัวเองและทุกคนในบ้าน มีอะไรฉุกเฉินโทรแจ้งได้ทันทีไม่ต้องตะโกนถามกันให้เสียเวลา

 10. ควรมีถังดับเพลิงได้มาตรฐานในจำนวนที่เหมาะสมกับขนาดของบ้านติดตั้งไว้ในบ้านด้วย พร้อมศึกษาวิธีการใช้งานให้เข้าใจอย่างละเอียด มีการทดลองใช้ให้คล่องมือ และหมั่นตรวจสอบว่าชำรุดหรือใช้งานได้ตามปกติอยู่หรือเปล่า ที่สำคัญต้องดูวันหมดอายุของน้ำยาดับเพลิงอยู่เสมอด้วยนะคะ



แชร์หน้านี้: